วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

พฤติกรรมและสาเหตุของการใช้ความรุนแรงในวัยรุ่น

พฤติกรรมและสาเหตุของการใช้ความรุนแรงในวัยรุ่น

พฤติกรรมและสาเหตุของการใช้ความรุนแรงในวัยรุ่น  มีหลายประเภทดังนี้
1.การทะเลาะวิวาทภายในสถาบัน   อาจเกิดจากบุคคล 2 คนที่ทำร้าย ชกต่อยตบตีกัน หรือเกิดจากบุคคล 2 ฝ่าย ฝ่ายละหลายๆคนหรือการรมทำร้ายกัน  ซึ่งส่วนใหญ่มักไม่รุนแรง มากนักแค่เพียงเจ็บตัว  แต่บางครั้งก็อาจมีการแทงกัน  ยิงกัน  ดังข่าวที่ปรากฏทางหน้าหนังสือพิมพ์ ที่นานๆ ครั้งจะพบเห็นสาเหตุเกิดจากการไม่เข้าใจกัน  ความหมั่นไส้  ความหึงหวง
2.การทะเลาะวิวาทภายนอกสถาบัน   มักเกิดจากนักเรียน  นักศึกษากลุ่มหนึ่งซึ่งมี เพียงเล็กน้อยเกิดความคึกคะนอง  อยากทำตัวโดดเด่น    ( ที่ไม่ถูกต้อง )   ไม่คิดถึงจิตใจของผู้อื่น แม้กระทั่งพ่อแม่ของตนเอง    ก่อให้เกิดปัญหาทางสังคม    ซึ่งขณะนี้ภาครัฐกำลังดำเนินการแก้ไข ปัญหานี้อยู่   สาเหตุมักเกิดจากการไปหาเรื่องกัน    การถูกชักชวนกันไปทะเลาะวิวาท   การที่มีเพื่อนถูกบางคนที่อยู่สถาบันอื่นทำร้าย    การมีนิสัยพาลเกเรไปทำร้ายผู้ที่ไม่รู้เรื่อง
3. การถูกทำร้ายทางเพศ    วัยรุ่นจำนวนมากโดยเฉพาะผู้หญิงที่ถูกทำร้ายทางเพศ   ผู้ที่ ทำร้ายทางเพศส่วนใหญ่เป็นคนใกล้ตัว   เช่น   คู่รัก   เพื่อน   ญาติ   พี่เลี้ยง   เป็นต้น   ซึ่งโดยมาก มักจะถูกหลอก   ล่อลวง  และบังคับ   บางรายถูกทำร้ายทางเพศติดต่อกันเป็นเวลานานหลายปี  กว่าที่คนอื่นหรือทางราชการจะรู้เรื่องหรือผู้ถูกทำร้ายทางเพศยอมเปิดเผยเรื่องราว
การป้องกันไม่ให้การเกิดความรุนแรง
เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาความรุนแรงควรมีวิธีป้องกันดังต่อไปนี้
1.  เชื่อฟังคำสั่งสอนของพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครู  อาจารย์
2.  เข้าร่วมกิจกรรมสร้างเสริมความสามัคคีในกลุ่มนักเรียน เช่น กีฬาสี
3.  ฝึกตนเองให้สามารถรู้จักแก้ปัญหาด้วยการใช้ความคิดด้วยเหตุผล หลีกเลี่ยงการใช้อารมณ์ และใช้ความรุนแรง
ควรมีการรวมกลุ่มตามความสนใจและความถนัดของตนเองเพื่อทำกิจกรรมร่วมกัน ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์  เช่น   กลุ่มดนตรี ฝึกสมาธิ เข้าร่วมกิจกรรมกล่อมเกลาจิตใจให้มีความอ่อนโยน รู้จักควบคุมอารมณ์ตนเองเช่น อบรมจริยธรรม ฟังบรรยายธรรมะ
พฤติกรรมเสี่ยงที่เป็นปัญหาต่อสุขภาพ
พฤติกรรมเสี่ยงที่เป็นปัญหาต่อสุขภาพของชุมชนที่สำคัญ  ได้แก่
1.  พฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ  เช่น  การฝ่ายฝืนกฎจราจรของผู้ขับขี่  เมาหรือง่วงนอนแล้วขับขี่รถยนต์ทำให้เกิดอุบัติเหตุ  ไม่สวมหมวกนิรภัยขณะขับขี่รถจักรยานยนต์  หรือไม่คาดเข็มขัดนิรภัยขณะขับขี่รถยนต์  ซึ่งก่อให้เกิดการบาดเจ็บที่รุนแรงเมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้น
2.  พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศกับการเกิดโรคเอดส์  เช่น  พฤติกรรมการสำส่อนทางเพศ  การมีพฤติกรรมทางเพศที่ไม่ปลอดภัยโดยไม่สวมถุงยางอนามัยเมื่อมีเพศสัมพันธ์  หรือการขาดความรู้ความเข้าใจในการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ถูกต้อง  ย่อมทำให้เกิดปัญหาการแพร่ระบาดของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในชุมชน  โดยเฉพาะปัญหาการแพร่ระบาดของโรคเอดส์
3.  พฤติกรรมเสี่ยงจากการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสมและการขาดการออกกำลังกาย  เช่น  ประชากรในวัยต่าง  ๆ ของชุมชนบริโภคอาหารที่มีสารพิษปนเปื้อนส่งผลเสียต่อสุขภาพ  การขาดความรู้ความเข้าใจในการบริโภคอาหารที่เหมาะสมตามวัยของคนในชุมชน  ทำให้เกิดการเจ็บป่วยร่างกายไม่เจริญเติบโต  รวมทั้งการขาดความกระตือรือร้น  การขาดแนวร่วมในการออกกำลังกายของชุมชน  ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ เช่น  โรคอ้วน  โรคหัวใจและหลอดเลือด  โรคความดันโลหิตสูง  โรคเบาหวาน
4.  พฤติกรรมเสี่ยงต่อการเสพสารเสพติด  เช่น  ชุมชนที่เป็นแหล่งขายหรือจำหน่วยสารเสพติด  หรือเป็นชุมชนที่มีการแพร่ระบาดของสารเสพติด  ส่งผลทำให้คนในชุมชนนั้นมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดสารเสพติดโดยง่าย  หรือชุมชนที่มีปัญหาความยากจน  มีปัญหาครอบครัวแตกแยก  สมาชิกในครอบครัวขาดการเอาใจใส่ซึ่งกันและกันก็จัดว่าเป็นสาเหตุของการเกิดพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเสพสารเสพติดในชุมชนได้เช่นกัน
5.  พฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดความเครียดและปัญหาความรุนแรง  เช่น  วิถีการดำรงชีวิตที่เร่งรีบ  มีการแข่งขันกันประกอบอาชีพและการหารายได้เพื่อใช้จ่ายในครอบครัว  การยึดติดกับการบริโภควัตถุจนเกินไป  ส่งผลต่อสภาพอารมณ์และจิตใจของผู้คนในชุมชน  ทำให้เกิดความเครียด
ประเภทของพฤติกรรมเสี่ยง
1. พฤติกรรมเสี่ยงต่ออุบัติเหตุ(unintentional injuries)  ได้แก่  การร่วมกิจกรรมที่เสี่ยงต่ออุบัติเหตุ  การไม่ปฏิบัติตามกฎแห่งความปลอดภัย(ไม่สวมหมวกกันน็อค  ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย  เมาในขณะขับรถ ฯลฯ)
2. พฤติกรรมความรุนแรง(violence)  ได้แก่  การเข้าร่วมกลุ่มที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง  การทำร้ายร่างกาย  การพกพาอาวุธ  ทำลายข้าวของสาธารณะ
3. ภาวะซึมเศร้าและการฆ่าตัวตาย(depression and suicidal idea)
4. การใช้ยาเสพติด(drug abuse)  ได้แก่  การลองและใช้ยาเสพติด  บุหรี่  เหล้า  หรืออยู่ในกลุ่มเพื่อนที่ใช้ยาเสพติด
5. พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศสัมพันธ์(sexual behaviors)  ได้แก่  เริ่มต้นจากการมีแฟนเร็วเกินไป  การเริ่มมีสัมผัสแตะเนื้อต้องตัว กอดจูบ อยู่กันตามลำพัง และมีเพศสัมพันธ์โดยไม่มีการป้องกันการตั้งครรภ์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
6.พฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันในวัยกลางคน(myocardial infarction)  ได้แก่  การรับประทานอาหารไขมันสูง  อ้วน  ขาดการออกกำลังกาย
สาเหตุของพฤติกรรมเสี่ยง
สาเหตุของพฤติกรรมเสี่ยงวัยรุ่น  เกิดจากปัจจัยทางจิตใจและสังคม ดังนี้
1.ขาดความรู้และทักษะ  ความรู้และทักษะที่จำเป็นสำหรับวัยรุ่น ได้แก่  ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัย  อันตรายและความเสี่ยงต่างในการดำเนินชีวิต  ความรู้เกี่ยวกับเรื่องเพศ  การจัดการอารมณ์เพศตนเอง  การแก้ไขปัญหาต่างๆในชีวิต  การปฏิเสธ  การมีกิจกรรมที่เป็นสุขเป็นประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น
2.ขาดความตระหนัก  วัยรุ่นที่มีความรู้และทักษะในการป้องกันความเสี่ยง  แต่ยังขาดความตระหนักและจริงจังต่อการป้องกันตนเอง  เห็นประโยชน์ของการป้องกัน  และเห็นโทษหรือพิษภัยจากพฤติกรรมเสี่ยง  จนใช้เป็นหลักในจิตใจที่จะไม่ทำพฤติกรรมนั้น
3.ขาดการควบคุมตนเอง  ความรู้ ทักษะและความตระหนัก  อาจไม่ช่วยป้องกันความเสี่ยง  ถ้าวัยรุ่นไม่มีการควบคุมตนเองดีเพียงพอ  อาจคล้อยตามเพื่อนหรือสิ่งแวดล้อมได้  เหล้าและยาเสพติดเป็นสาเหตุที่ทำให้จิตใจเสียการควบคุมตนเอง  อาจทำให้มีพฤติกรรมเสี่ยงได้
4. ขาดวิธีการที่ทำให้ตนเองพึงพอใจที่ถูกต้อง  วัยรุ่นต้องการกิจกรรมที่ช่วยให้ตนเองเกิดความพึงพอใจ  ความสุข  แต่ถูกต้องเป็นที่ยอมรับได้  วัยรุ่นที่มีจุดเด่น เป็นที่ยอมรับของเพื่อนด้านบวกอยู่แล้ว(เช่น การเรียน  กีฬา  ดนตรี ฯลฯ)   จะไม่แสวงหากิจกรรมด้านลบที่อาจเป็นพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ
5. ปัญหาทางจิตใจ  อารมณ์ หรือโรคทางจิตเวช   ทำให้ขาดความสุข  เก็บกดความทุกข์ใจ  ความก้าวร้าว  หรือเคยโดนกระทำทารุณทางกายหรือทางเพศ  จะแสดงออกเป็นพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ  เพื่อชดเชย  ปิดบัง  หรือระบายอารมณ์เป็นพฤติกรรมเสี่ยง  เช่น  การใช้ยาเสพติดเพื่อลดความเครียดหรืออารมณ์เศร้า
6. อิทธิพลของสิ่งแวดล้อม  ทัศนคติและแบบอย่างในครอบครัว  ความเป็นสุขของครอบครัว  อิทธิพลของกลุ่มเพื่อน  การต้องการเป็นที่ยอมรับของเพื่อน  และสังคม  การชักจูงใจจากแฟชั่น  ดารานักร้อง  การโฆษณา  ค่านิยมทางวัตถุนิยม
การป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงในวัยรุ่น
การป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงวัยรุ่น  ทำได้โดยลดปัจจัยสาเหตุ  และเพิ่มปัจจัยป้องกัน  และจัดการสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม  ดังนี้
1. การให้ความรู้ ที่จำเป็นสำหรับวัยรุ่น ได้แก่ การเลี่ยนแปลงตนเองในวัยรุ่น  ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัย  อันตรายและความเสี่ยงต่างในการดำเนินชีวิต  ความรู้เกี่ยวกับเรื่องเพศ
2.การฝึกทักษะ ในการรู้จักอารมณ์และความคิดตนเอง  จัดการกับอารมณ์ได้  จัดการอารมณ์เพศตนเอง  การแก้ไขปัญหาต่างๆในชีวิต  การปฏิเสธ  การมีกิจกรรมที่เป็นสุขเป็นประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น
3.สร้างความตระหนักในการป้องกันความเสี่ยง  จริงจังต่อการป้องกันตนเอง  เห็นประโยชน์ของการป้องกัน  และเห็นโทษหรือพิษภัยจากพฤติกรรมเสี่ยง  จนใช้เป็นหลักในจิตใจที่จะไม่ทำพฤติกรรมนั้น
4.ฝึกการควบคุมตนเอง  ฝึกจิตใจให้เข้มแข็ง  การรู้จักจิตใจตนเองและควบคุมได้  รู้จักยั้งคิด  ฝึกระเบียบวินัยที่มาจากภายในใจตนเอง  ฝึกการปฏิเสธเหล้าและยาเสพติดเป็นสาเหตุที่ทำให้จิตใจเสียการควบคุมตนเอง
5.ช่วยให้วัยรุ่นมีกิจกรรมที่ทำให้ตนเองพึงพอใจที่ถูกต้อง  วัยรุ่นต้องการกิจกรรมที่ช่วยให้ตนเองเกิดความพึงพอใจ  ความสุข  แต่ถูกต้องเป็นที่ยอมรับได้  วัยรุ่นที่มีจุดเด่น เป็นที่ยอมรับของเพื่อนด้านบวกอยู่แล้ว  จะไม่แสวงหากิจกรรมด้านลบที่อาจเป็นพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ
6.สร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีพ่อแม่เป็นแบบอย่าง มีทัศนคติที่ดีต่อลูก แสวงหากิจกรรมที่เป็นประโยชน์ ครอบครัวมีความสุข ทัศนคติดีต่อการเรียนรู้ที่ถูกต้อง ส่งเสริมกลุ่มเพื่อนที่ดี  ให้เป็นที่ยอมรับของเพื่อน ครอบครัว ชุมชน  และสังคม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น