วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสมองเสื่อมชนิดอัลไซเมอร์

ปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสมองเสื่อมชนิดอัลไซเมอร์

1.       ความน่าเชื่อมั่นของหลักฐานระดับปานกลาง
1.       APOE e4 genotype
2.       การใช้ฮอร์โมนเพศเอสโทรเจนร่วมกับเมทธิวโปรเจสเตอโรน
2.       ความน่าเชื่อมั่นของหลักฐานระดับต่ำ
1.       การใช้ยาต้านการอักเสบสเตียรอยด์ (non-steroidal anti-inflammatory drugs)บางชนิด
2.       โรคซึมเศร้า
3.       เบาหวาน
4.       ไขมันในเลือดสูงในวัยกลางคน
5.       อุบัติเหตุต่อสมองในเพศชาย
6.       การได้รับยาฆ่าแมลง
7.       คนโสด ได้รับการสนับสนุนทางสังคมน้อย
8.       กำลังสูบบุหรี่
ปัจจัยที่ลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสมองเสื่อมชนิดอัลไซเมอร์
1.       อาหารเมดิเตอเรเนี่ยน
2.       กรดโฟลิก
3.       ยาลดไขมัน statins
4.       การศึกษาสูง
5.       ดื่มอัลกอฮอล์ระดับน้อยถึงปานกลาง
6.       เข้าร่วมกิจกรรมที่กระตุ้นการรู้คิด
7.       การออกกำลังกาย
ปัจจัยที่ไม่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดภาวะสมองเสื่อมชนิดอัลไซเมอร์
1.       ความน่าเชื่อมั่นของหลักฐานระดับสูง
1.       สารสกัดใบแปะก๊วย
2.       ความน่าเชื่อมั่นของหลักฐานระดับปานกลาง
1.       วิตะมินอี
2.       ยากลุ่ม cholinesterase inhibitors
3.       ความน่าเชื่อมั่นของหลักฐานระดับต่ำ
1.       ยาลดความดันโลหิต
2.       การได้รับฮอร์โมนเอสโตรเจน
3.       กรดไขมันโอเมก้า-3
4.       วิตะมินบี 12 วิตะมินซี เบต้าคาโรทีน
5.       โฮโมซิสเตอีน
6.       ความดันโลหิตสูง
7.       อ้วน
8.       กลุ่มอาการทางเมตะโบลิก
9.       ปัจจัยเสี่ยงในวัยเด็ก
10.   ระดับของอาชีพ
11.   สารตะกั่ว
ปัจจัยที่ยังไม่มีข้อมูลเพียงพอที่จะบอกถึงความสัมพันธ์ได้
1.                   การรับประทานไขมันอิ่มตัวสูง
2.                   การรับประทานผักและผลไม้
3.                   แร่ธาตุ
4.                   การรับประทานพลังงานสูง
5.                   Memantine
6.                   การหยุดหายใจในขณะหลับ
7.                   โรควิตกกังวล
8.                   การเข้าร่วมกิจกรรมที่ไม่ได้กระตุ้นการรู้คิดหรืออกกำลังกาย
9.                   สารทำละลาย อลูมิเนี่ยม
10.               ปัจจัยทางพันธุกรรมอื่นๆ นอกจาก APOE
                ถึงแม้ว่าส่วนใหญ่แล้วจะยังไม่มีหลักฐานทางวิชาการที่ชัดเจนในเรื่องปัจจัยที่ส่งเสริมหรือป้องกันการเกิดภาวะสมองเสื่อม  แต่ไม่ได้แปลว่าปัจจัยที่ศึกษามานั้นไม่ได้เป็นปัจจัยของการเกิดโรคจริงๆ เพียงแต่ยังขาดข้อมูลที่มีน้ำหนักทางวิชาการที่เพียงพอ  ซึ่งโดยส่วนใหญ่เกิดจากการที่มีการศึกษาถึงแต่ละปัจจัยไม่มากนัก มีความแตกต่างของการศึกษาเป็นอันมาก การวัดประเมินปัจจัยและผลลัพธ์ไม่มีความแม่นยำ การศึกษาวิจัยให้ผลแตกต่างออกไปในการศึกษาอื่น และถึงแม้จะพบความสัมพันธ์จริงๆ ก็มักเป็นความสัมพันธ์ที่ไม่สูงมากนัก  การวิจัยที่เหมาะสมอาจต้องเป็นการศึกษาวิจัยที่เป็น observational studies ที่มีการวางแผนในการวิจัยที่ดี และอาจจำเป็นต้องศึกษาถึงปัจจัยของโรคหลายๆ ปัจจัยพร้อมๆ กัน และการให้การแก้ไขปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ไปพร้อมๆ กัน เพราะการศึกษาแยกแต่ละปัจจัยเสี่ยงอาจไม่เป็นผลต่อการเปลี่ยนแปลงการเกิดภาวะสมองเสื่อม
การป้องกันภาวะสมองเสื่อมในชีวิตประจำวัน
ถึงแม้ว่ายังต้องอาศัยการศึกษาวิจัยที่ยืนยันมากกว่านี้ในด้านการป้องกันภาวะสมองเสื่อมแต่แนวทางการปฏิบัติตัวโดยทั่วไปมีดังนี้
     1. รับประทานอาหารครบหมู่ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวและโคเลสเตอรอลสูง ใช้น้ำมันพืช เช่น น้ำมันจากดอกทานตะวันถั่วเมล็ดแห้งเมล็ดฟักทองถั่วเหลืองเป็นต้น รับประทานปลาทะเลให้มาก รับประทานอาหารที่มีวิตามินซีวิตามินอีและกรดโฟลิกสูง
        2.รักษาน้ำหนักตัวไม่ให้เกินเกณฑ์โดยไม่ให้ดรรชนีมวลกายเกิน25
        3. หลีกเลี่ยงยาหรือสารที่จะทำให้เกิดอันตรายแก่สมอง เช่น การดื่มเหล้าจัดหรือการรับประทานยาโดยไม่จำเป็น
         4.ไม่สูบบุหรี่หรืออยู่ในที่ๆมีควันบุหรี่
      5. การฝึกฝนสมอง ได้แก่ การพยายามฝึกให้สมองได้คิดบ่อยๆ เช่น อ่านหนังสือ เขียนหนังสือบ่อยๆ คิดเลขดูเกมส์ตอบปัญหาฝึกหัดการใช้อุปกรณ์ใหม่ๆเป็นต้น
        6. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ สัปดาห์ละ 3-5 ครั้ง เช่น วิ่งเหยาะ ปั่นจักรยาน เดินเล่น รำมวยจีน เป็นต้น
        7.การพูดคุยพบปะผู้อื่นบ่อยๆเช่นไปวัดไปงานเลี้ยงต่างๆหรือเข้าชมรมผู้สูงอายุเป็นต้น
   8.ตรวจสุขภาพประจำปีหรือถ้ามีโรคประจำตัวอยู่เดิมก็ต้องติดตามการรักษาเป็นระยะเช่นการตรวจหา ดูแลและรักษาโรคความดันโลหิตสูงโรคเบาหวานโรคไขมันในเลือดสูงโรคหัวใจเป็นต้น
          9. ถ้ามีอาการเจ็บป่วยควรปรึกษาแพทย์แต่เนิ่นโดยเฉพาะในผู้สูงอายุเพื่อลดโอกาสเกิดอาการสับสนเฉียบพลัน
           10.ระมัดระวังเรื่องอุบัติเหตุต่อสมองระวังการหกล้มเป็นต้น
           11. พยายามมีสติในสิ่งต่างๆ ที่กำลังทำและฝึกสมาธิอยู่ตลอดเวลา


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น