วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

พฤติกรรมการป้องกันโรค

พฤติกรรมการป้องกันโรค

เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการปฏิบัติของบุคคลที่จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดโรคหรือความผิดปกติของร่างกาย  นักเรียน
นักเรียนลองพิจารณาการปฏิบัติของนักเรียนตั้งแต่ตื่นนอนตอนเช้าจนถึงเข้านอนตอนเย็นจะเห็นว่าการปฏิบัติส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับสุขภาพทั้งสิ้น  นับตั้งแต่การอาบน้ำ  ล้างหน้า  แปรงฟัน  การรับประทานอาหาร  การทำความสะอาดบ้านเรือนที่อยู่อาศัย  การรักษาความสะอาดของสิ่งแวดล้อม  การล้างมือก่อนรับประทานอาหารและหลังใช้ส้วม  การระวังอุบัติเหตุทั้งที่บ้าน  โรงเรียน  และในชุมชน  ตลอดจนที่ทำงาน  ฯลฯ  การปฏิบัติดังกล่าวข้างต้นจะต้องให้ถูกต้องเหมาะสมจึงจะช่วยป้องกันโรคได้


ความสำคัญของพฤติกรรมสุขภาพ  การป้องกันโรค  และการดำรงสุขภาพ
สิ่งที่คนเราปฏิบัติเกี่ยวกับสุขภาพ  เช่น  การรับประทานอาหาร  การออกกำลังกาย  การบริหารจัดการความเครียด  การพักผ่อน  การสูบบุหรี่  การดื่มสุรา  ฯลฯ เหล่านี้ล้วนมีผลต่อสุขภาพของบุคคล  ซึ่งรวมถึงการเกิดโรคหรือไม่เกิดโรค (สุขภาพดี)  ด้วย  เมื่อพิจารณาดูการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้องจะพบว่าล้วนมีผลต่อการเกิดโรคทั้งสิ้น  บางโรคเกิดจากการปฏิบัติที่ไม่ถูกต้องอย่างเดียว บางอย่างเกิดจากการปฏิบัติที่ไม่ถูกต้องหลายอย่าง
ดังนั้น  เพื่อให้การดำรงไว้ซึ่งสุขภาพที่ดีทั้งด้านร่างกาย  จิตใจ  อารมณ์  และสังคม  จึงควรปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องเหมาะสม  หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ  การมีวิถีการดำรงชีวิตที่ส่งเสริมสุขภาพ  ซึ่งการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้องล้วนเป็นสาเหตุของโรคเรื่อรังและปัญหาสุขภาพทั้งสิ้น

สรุป
หากเราได้ฝึกสุขนิสัยหรือการปฏิบัติด้านสุขภาพที่ถูกต้องตั้งแต่วัยเด็กเป็นต้นมา  เช่น  การรับประทานอาหารที่ถูกต้อง  การออกกำลังกายที่ถูกต้องและสม่ำเสมอ  การไม่สูบบุหรี่  การไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์  การบริหารจัดการความเครียดที่ถูกต้อง  ฯลฯ  สุขนิสัยที่ดีจะติดตัวเราจนถึงโต  และจำทำให้มีสุขภาพดี  แข็งแรง  และสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุข  เมื่อเข้าสู่วัยชราก็จะไม่มีโรคร้ายเบียดเบียน  เป็นคนที่มีความสุข  มีสุขภาพดีทั้งร่างกาย  จิตใจ  อารมณ์ สังคม  ดังคำกล่าวที่ว่า  เราควรจะทำให้ชีวิตยืนยาวขึ้นและขณะเดียวกันก็เพิ่มความมีชีวิตชีวาให้กับความยืนยาวนั้น  “Add  years  to  life  and  add  life  to  years”
           

คำกล่าวที่ว่า " ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ "  นั้นเป็นความจริงที่สุด  เพราะว่าคนทุกคนไม่มีใครอยากเจ็บป่วย  เพราะว่าเมื่อเจ็บป่วยแล้วจะอยู่ในภาวะที่ไม่สบายกายไม่สบายใจ  การเจ็บป่วยทรมานจิตใจ  ไม่ใช่เฉพาะผู้ที่เจ็บป่วยเท่านั้น พ่อแม่พี่น้อง คนใกล้ชิด  ก็พลอยทุกข์ทรมานไปด้วย  และยังทำให้เสียเงินทอง  เสียเวลาในการรักษาการเจ็บป่วยนั้น เพื่อกลับคืนสู่สภาพปกติ  หรือมีสุขภาพดีให้เร็วที่สุดอีกด้วย  เมื่อการเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ  นั้นเป็นสิ่งที่ไม่พึ่งปรารถนา  เราจึงต้องการที่จะหลีกเลี่ยงการเจ็บป่วยโดยการป้องกันโรค
        การป้องกันโรค  หมายถึงการกระทำหรืองดกระทำบางสิ่งบางอย่างเพื่อไม่ให้เกิดการเจ็บป่วยหรือเป็นโรคแล้วและการป้องกัน ไม่ให้กลับเป็นซ้ำในกรณีที่หายจากการเจ็บป่วยเป็นโรคแล้ว ระดับการป้องกันโรคและหลักการป้องกันโรค จากความหมายของการป้องกันโรคดังกล่าวข้างต้นทำให้แบ่งระดับของการป้องกันโรคออกเป็น  3  ระดับ  คือ
                1. การป้องกันก่อนการเกิดโรคหรือก่อนการเจ็บป่วย  หมายถึง การกระทำหรืองดการกระทำใดๆ  เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการเป็นโรคหรือเกิดการเจ็บป่วยขึ้น เช่น  การดูแลรักษาร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ  เพื่อไม่ให้เจ็บป่วยได้ง่าย  เช่น  การระวังไม่ให้ยุงลายกัด  เพื่อป้องกันไม่ให้เป็นโรคไข้เลือดออก การฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัด  เป็นต้น
                2. การป้องกันโรคในระยะที่เกิดโรคหรือเจ็บป่วยขึ้นแล้ว  หมายถึง  การกระทำหรือการงดกระทำใดๆ  ที่จะทำให้อาการเจ็บป่วยจากโรคที่เป็นอยู่นั้นไม่รุนแรงมากขึ้น  หรือหายป่วยจากโรคนั้นโดยเร็วที่สุด  เช่น  การกินยาและปฏิบ้ติตามที่แพทย์สั่งเมื่อป่วย  เป็นต้น
                3. การป้องกันโรคเมื่อหายจากการเจ็บป่วยด้วยโรคแล้ว  หมายถึง  การกระทำหรือการงดกระทำใดๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เจ็บป่วยหรือเกิดเป็นโรคนั้นซ้ำอีกภายหลัง
การป้องกันโรค  มีหลักการที่สำคัญ  2  ประการ คือ การป้องกันโรคด้วยตนเอง  หมายถึง  การกระทำหรือไม่กระทำบางสิ่งบางอย่างของตนเอง  เพื่อป้องกันไม่ให้ตนเองและคนอื่นๆ  เกิดเจ็บป่วยหรือการเกิดโรคขึ้น  รวมทั้งการป้องกันการระบาดของโรคที่อาจเกิดขึ้นในชุมชนด้วย  สิ่งที่สำคัญที่สุดในประเด็นนี้คือ  การเสริมสร้างสุขภาพเพื่อการป้องกันโรค การป้องกันโรคระดับบุคคล    มีวิธีการปฏิบัติดังนี้.
        1. ดูแลรักษาสุขภาพให้สุขภาพแข็งแรง  ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ  กินอาหารที่มี
คุณประโยชน์อย่างเพียงพอ  นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ  และลดการสูบบุหรี่
        2. ล้างมือด้วยสบู่และทำให้สะอาดอยู่เสมอ  และใช้ช้อนกลางเมื่อรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น
        3. หลีกเลี่ยงการเดินทางในประเทศ  หรือพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคนี้
        4. ถ้าจำเป็นต้องเดินทางในประเทศหรือที่ที่มีการระบาดของโรคนี้  เมื่อกลับมาจะต้องผ่านกระบวนการตรวจคัดกรอง
ความสำคัญและคุณประโยชน์ของการป้องกันโรค
        คำกล่าวที่ว่า " ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ "  นั้นเป็นความจริงที่สุด  เพราะว่าทุคนไม่มีใครอยากเจ็บป่วย  เพราะว่าเมื่อเจ็บป่วยแล้วจะอยู่ในภาวะที่ไม่สบายกายไม่สบายใจ  การเจ็บป่วยทรมานจิตใจ  ไม่ใช่เฉพาะผู้ที่เจ็บป่วยเท่านั้น  พ่อแม่พี่น้อง ก็พลอยทุกข์ทรมานด้วย และยังทำให้เสียเงินทอง  เสียเวลาในการรักษาการเจ็บป่วยนั้น  เพื่อกลับคืนสภาพปกติและมีสุขภาพดีให้เร็วที่สุดอีกด้วย   เมื่อการเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ  นั้นเป็นสิ่งไม่พึงปรารถนา  เราจึงต้องการที่จะหลีกเลี่ยงการเจ็บป่วยโดยการป้องกันโรค
        การป้องกันโรค  หมายถึง  การกระทำหรืองดกระทำบางสิ่งบางอย่างเพื่อไม่ให้เกิดการเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ  รวมทั้งป้องกันไม่ให้การเจ็บป่วยนั้นรุนแรงมากขึ้นในกรณีที่เจ็บป่วยหรือเป็นโรคแล้วและการป้องกันไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำในกรณีที่หายจากการเจ็บป่วยเป็นโรคแล้ว
        สิ่งแวดล้อมทางสุขภาพมีความสำคัญต่อสุขภาพและชีวิตความเป็นอยู่ของทุกๆ คน  โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิ่งแวดล้อมที่บ้านของเรา  เช่นตัวบ้านเรือน  ห้องน้ำ  ห้องส้วม น้ำดื่ม  นำใช้  บริเวณบ้าน  ขยะมูลฝอย  ซึ่งสิ่งแวดล้อมเหล่านี้สมาชิกทุกคนในบ้านจำเป็นต้องเอาใจใสร่วมมือ  และช่วยเหลือกันดูแลรักษาให้ถูกสุขลักษณะอยู่เสมอ  แต่การที่จะดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมทางสุขภาพให้คงทนถาวรและถูกสุขลักษณะ  รวมทั้งได้ผลดีอย่างแท้จริงนั้น  เราต้องมีความรู้ความเข้าใจถึงลักษณะโดยทั่วไปของสิ่งแวดล้อมแต่ละอย่าง  พร้อมทั้งจะต้องมีความรู้จักวิธีปฏิบัติเพื่อนำไปบำรุงรักษาและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
        สิ่งแวดล้อมทางสุขภาพ   ซึ่งหมายถึง  สิ่งที่มีชีวิตและสิ่งที่ไม่มีชีวิตต่างๆ  เช่น  คน  สัตว์  พืช  วัตถุหรือสิ่งของอื่นๆ  ทีอยู่รอบๆตัวเรา  และอาจมีอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมต่อสุขภาพ  ดังนั้นสิ่งแวดล้อมเหล่านี้จึงมีความสัมพันธ์กับสุขภาพของคนเรามาก
        คนเราต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมตลอดเวลานับตั้งแต่วัยทารกเป็นต้นมา  สุขภาพและชีวิตความเป็นอยู่ของเราจะดีหรือไม่เพียงใดส่วนหนึ่งย่อมขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อม  ซึ่งรอบๆ ตัวเรานั้นมีสิ่งแวดล้อมอยู่มากมายหลายอย่างจนนับไม่ถ้วน  มีทั้งสิ่งแวดล้อมที่ให้คุณแลให้โทษปะปนกันแต่สิ่งแวดล้อมส่วนใหญ่เป็นสิ่งที่มนุษย์สามารถปรับปรุงแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้นได้โดยเฉพาะบ้านหรือที่อยู่อาศัยและน้ำดื่มน้ำใช้ซึ่งเป็นสิ่งแวดล้อมที่จำเป็นและสำคัญมากในชีวิตประจำวัน  เราสามารถดูแลรักษาให้ถูกสุขลักษณะอยู่ได้เสมอ  ถ้าเมื่อสิ่งแวดล้อมเหล่านี้เกิดปัญหาและเป็นพิษเป็นภัยต่อความเป็นอยู่  เราก็จะต้องปรับปรุงแก้ไขให้ถูกสุขลักษณะและมีสภาพที่ดีขึ้น
การป้องกันโรคล่วงหน้าคือการป้องกันโรคก่อนระยะที่โรคเกิดเป็นวิธีการที่ยอมรับกันทั่วไปว่ามีประสิทธิภาพมากที่สุกประหยัดที่สุดและได้ผลมากที่สุดกว่าการป้องกันและควบคุมโรคระดับอื่นๆ วัตถุประสงค์หลักของการป้องกันโรคล่วงหน้าคือ การปรังสภาพความเป็นอยู่จองมนุษย์หรือการปรับปรุงภาวะสิ่งแวดล้อมหรือทั้งสองประการร่วมกันเพื่อให้เกิดภาวะที่โรคต่างๆ ไม่สามารถเกิดหรือคงอยู่ได้ โดยการส่งเสริมสุขภาพอนามัยของประชาชนให้สมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ มีความต้านทานต่อโรคต่างๆ ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้การปรับปรุงสุขภาพอนามัยของประชาชนให่สมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ มีความต้านทานต่อโรคต่างๆ ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้การปรับปรุงสุขภิบาลสิ่งแวดล้อมให้ถูกสุขลักษณะเพื่อป้องกันมิให้มีพาหะและสื่อนำโรค ทั้งนี้เพื่อทำให้การแพร่กระจายของเชื้อที่เป็น สาเหตุทำให้เกิดโรค โดยผ่านทางสื่อต่างๆ ที่มีอยู่ในชุมชนหมดไป ซึ่งกิจกรรมในการป้องกันโรค ล่วงหน้ามีดัง
1. การให้สุขศึกษาเกี่ยวกับความรู้ทั่วไปในการป้องกันโรคการเปลี่ยนแปลงทัศนคติและการปฏิบัติงานให้ถูกหลักสุขวิทยาส่วนบุคคลและชุมชน 
     2.  การจัดโภชนาการให้ถูกต้องตามมาตรฐาน เหมาะสมกับกลุ่มอายุและภาวะความต้องการของบุคคลเช่นทารกเด็กเล็กวัยรุ่นวัยชราหญิงมีครรภ์แม่ระยะให้นมลูกหรือผู้ป่วยด้วยโรคบางชนิดที่มีความต้องการอาหารพิเศษเฉพาะโรค 
          3. การให้ภูมิคุ้มกันโรคเพื่อป้องกันโรคติดต่อต่างๆที่สามารถป้องกันได้โดยการใช้วัคซีนเช่นการให้ภูมิคุ้มกันโรคขั้นพื้นฐานสำหรับเด็กเล็กที่จำเป็นต้องได้รับสำหรับการป้องกันโรคคอตีบไอกรน บาดทะยัก ไข้ไขสันหลังอักเสบ หรือโรคโปลิโอ และวัณโรค และการให้ภูมิคุ้มกันโรคขั้นเสริม ซึ่งได้แก่ กลุ่มชนอายุต่าง ๆ ตามความจำเป็นและโอกาสที่ต้องเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้แก่การให้ภูมิคุ้มกันโรคอหิวาไข้ไทฟอยด์ไข้สมองอักเสบไข้หัดเป็นต้น 
           4. กิจกรรมที่ส่งเสริมในด้านการเลี้ยงดูเด็กที่ถูกต้องการสนใจการสังเกตถึงการเจริญเติบโตของเด็กทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจทั้งนี้เพื่อจะให้เด็กได้เจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มี สุขภาพอนามัยสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ 
           5. การจัดที่อยู่อาศัยที่ถูกสุขลักษณะการจัดหาสถานพักผ่อนหย่อนใจในชุมชนได้เพียงพอการจักสถานที่สันทนาการสนามกีฬาสนามเด็กเล่นรวมทั้งสถานที่สำหรับประกอบอาชีพที่ปลอดภัยและเหมาะสม 
           6. การจัดหรือปรับปรุงการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมได้แก่การจัดหาน้ำสะอาดการกำจัดของเสียและสิ่งปฏิกูลการสุขาภิบาลอาหารเครื่องดื่มนมการกำจัดหรือควบคุมมลพิษการกำจัดหรือควบคุมสัตว์และแมลงนำโรคและการควบคุมสิ่งที่ก่อให้เกิดความรำคาญต่างๆ 
            7. การจัดบริการให้ความปลอดภัยในด้านการป้องกันอุบัติเหตุภัยจากการประกอบอาชีพการจราจรการเดินทางท่องเที่ยวฯลฯ 
            8. การจัดให้มีบริการด้านการตรวจสุขภาพอนามัยโดยเฉพาะสำหรับเด็กเล็กหรือเด็กนักเรียนซึ่งกำลังเจริญเติบโตเพื่อให้มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงอยู่เสมอ 
            9. การจัดให้มีบริการด้านให้คำปรึกษาและแนะนำเกี่ยวกับเพศศึกษา การสมรสการส่งเสริมสุขภาพจิต ความรู้เกี่ยวกับพันธุกรรม การป้องกันโรค และการโภชนาการ 

การป้องกันโรคล่วงหน้า หมายถึง การป้องกันก่อนการเกิดโรค ซึ่งสามารถแบ่งแนวทางในการป้องกันโรคได้ 2 แนวทาง คือ1.  การป้องกันโรคทั่วไป คือ แนวทางการเสริมสร้างสุขภาพเพื่อให้คนในชุมชนมีสุขภาพกายและสุขภาพใจที่ดี2 การป้องกันโรคเฉพาะอย่าง คือ แนวทางการเสริมสร้างให้ร่างกายมีความต้านทานโรคต่างๆ เช่นการให้วัคซีนป้องกันโรคต่างๆการป้องกันโรคในระยะที่โรคเกิดขึ้นแล้ว หมายถึง การป้องกันโรคในระยะที่เกิดโรคขึ้นในชุมชนแล้ว โดยกำหนดแนวทางการระงับโรค การป้องกันการแพร่เชื้อ และการระบาดของโรคในชุมชน เช่น ควบคุมสัตว์และแมลงที่เป็นสื่อนำโรคการป้องกันโรคภายหลังการเกิดโรค หมายถึง การป้องกันโรคหลังเกิดโรคหรือเป็นโรคแล้ว เพื่อป้องกันจากความพิการ การไร้สมรรถภาพ หรือลดผลเสียจากโรคแทรกซ้อน มุมมองของการป้องกันโรคตลอดทุกช่วงอายุ สามารถแบ่งแนวทางการป้องกันออกได้เป็น 4 ระดับ
1.ปัจจัยด้านพันธุกรรม ได้แก่ ความผิดปกติ Mutation ของยีน amyloid precursor protein, Presenilin 1 และ Presenilin 2 เป็นต้น โดยเน้นในการป้องกันในด้านการตรวจทางพันธุกรรมเพื่อหาความผิดปกติในญาติของผู้ป่วย  ส่วน Genotype epsilon 4/4 มีผลให้มีการสร้างสาร amyloid และทำให้ผู้ที่มี genotype ดังกล่าว เกิดโรคอัลไซเมอร์เร็วขึ้น และผู้ป่วย MCI ที่มี Apo-lipoprotein epsilon 4/4 (APOE e4) จะมีโอกาสดำเนินโรคเป็นโรคอัลไซเมอร์สูงขึ้น
2. ปัจจัยเสี่ยงในวัยเด็ก ได้แก่ การดูแลช่วงตั้งครรภ์และคลอด เพื่อลดปัญหาภาวะขาดสารอาหาร การติดเชื้อในครรภ์ การขาดออกซิเจนในช่วงคลอด  นอกจากนั้นสถานภาพของครอบครัวในด้านเศรษฐานะ ขนาดของครอบครัว อาชีพของบิดามารดา การศึกษา ตลอดจนการเจริญเติบโตของแขนขาและศีรษะในวัยเด็ก ยังมีผลต่อระดับของศักยภาพการทำงานของสมองอีกด้วย12
3.ปัจจัยเสี่ยงในวัยผู้ใหญ่ ปัจจัยเสี่ยงในวัยผู้ใหญ่ที่สำคัญแบ่งออกเป็น 2 ปัจจัยหลัก คือ
             3.1 ปัจจัยเสี่ยงด้านพฤติกรรม เช่น การรับประทานอาหารบางชนิด และไม่รับประทานอาหารบางชนิด น้ำหนักตัวเกิน สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมาก ขาดการออกกำลังกาย การร่วมกิจกรรมที่พัฒนาการรู้คิด การเกิดอุบัติเหตุ ตลอดจนการได้รับสารพิษต่างๆ เป็นต้น14
     3.2 ปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อหลอดเลือด เช่น ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือโรคลิ้นหัวใจพิการ เป็นต้น
4.ปัจจัยเสี่ยงในวัยสูงอายุ ได้แก่ การใช้ยาบางชนิดที่มีผลต่อการทำงานของสมอง ความผิดปกติทางเมตาบอลิกและเกลือแร่ อารมณ์ซึมเศร้า ภาวะซึมสับสนเฉียบพลัน และโรคหลอดเลือดสมอง เป็นต้น การควบคุมแก้ไข midlife risk factors ในวัยสูงอายุมักได้ผลไม่มาก เนื่องจากมีปัจจัยด้านอายุซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงของภาวะสมองเสื่อมที่สำคัญที่เลี่ยงไม่ได้ ตลอดจนผู้สูงอายุมักมีปัจจัยเสี่ยงหลายอย่างร่วมกัน และการแก้ไขปัจจัยเสี่ยงของ midlife risk factors มักต้องอาศัยระยะเวลาในการเห็นประสิทธิผล
การป้องกันภาวะสมองเสื่อมตามระดับ 
การป้องกันโรคทุกโรคแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือระดับปฐมภูมิ(primary prevention) ทุติยภูมิ(secondary prevention) และตติยภูมิ (tertiary prevention) สำหรับการป้องกันภาวะสมองเสื่อมก็เช่นเดียวกันคือ
1.การป้องกันโรคระดับปฐมภูมิ (primary prevention) คือ การป้องกันโรคก่อนที่จะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงระดับชีวภาพ หรือการป้องกันปัจจัยเสี่ยงของโรค
2.การป้องกันโรคระดับทุติยภูมิ (secondary prevention) ได้แก่ การตรวจคัดกรองโรคตั้งแต่ผู้ป่วยยังไม่แสดงอาการ เพื่อที่จะได้แก้ไขตั้งแต่ระยะแรก แม้ในปัจจุบันมีความพยายามที่จะตรวจคัดกรองหาผู้ป่วยที่เป็น mind cognitive impairment (MCI) เพื่อที่จะชะลอการเกิดโรคอัลไซเมอร์ออกไป โดยผู้ป่วย MCI มีโอกาสเกิดภาวะสมองเสื่อมโดยเฉพาะโรคอัลไซเมอร์สูงกว่าประชากรทั่วไป คือ โอกาสเปลี่ยนเป็นโรคอัลไซเมอร์ร้อยละ 6-25 ต่อปี เทียบกับร้อยละ 1-2 ต่อปีในประชากรทั่วไป แต่ผลจากการใช้ยาเพื่อชะลอการเกิดโรคอัลไซเมอร์ได้ผลเฉพาะในปีแรกเท่านั้น นอกจากนั้นในปัจจุบันยังมีความพยายามที่จะใช้ตัวทำนายต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นภาพเอ็กเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือการตรวจน้ำไขสันหลังดังกล่าวข้างต้น เพื่อทำนายว่ามีโอกาสเกิดภาวะสมองเสื่อมในอนาคต แต่ยังอยู่ในระหว่างการศึกษา และโดยทั่วไปค่อนข้างยากที่จะบอกให้รู้ว่าผู้ป่วยรายใดมีโอกาสเกิดภาวะสมองเสื่อมในอนาคต ยกเว้นว่า เป็นผู้ที่มีความเสี่ยงทางพันธุกรรมหรืออยู่ในสภาพแวดล้อมที่อาจเป็นสาเหตุของภาวะสมองเสื่อมได้
3.การป้องกันสมองเสื่อมระดับตติยภูมิ (Tertiary prevention) ได้แก่ การชะลอการดำเนินโรคเมื่อผู้ป่วยมีอาการแสดงของโรคแล้ว ซึ่งพบว่าในปัจจุบันมียาหลายชนิดที่สามารถชะลออาการของโรคได้ เช่น cholinesterase inhibitors, vitamin E และ memantine เป็นต้น การป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมองซ้ำหรือปัจจัยต่างๆ ที่อาจซ้ำเติมให้การทำงานของสมองของผู้ป่วยแย่ลงก็เป็นกลวิธีของการป้องกันโรคระดับนี้ นอกจากนั้นยังรวมถึงการแก้ไขปัญหาทางจิตเวชและพฤติกรรมที่เกิดในผู้ป่วยที่มีสมองเสื่อม รวมถึงการทำกายภาพบำบัดผู้ป่วย ซึ่งจะช่วยผู้ป่วยและผู้ดูแลผู้ป่วยให้ดีขึ้นได้ระดับหนึ่ง การเพิ่มคุณภาพของระบบการดูแลผู้ป่วยไม่ว่าระดับครอบครัวหรือประเทศชาติ เช่น การตั้นสมาคมผู้ดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อม การฝึกทักษะการดูแลผู้ป่วย เหล่านี้เป็นต้น ก็เป็นการช่วยชะลอปัญหาของผู้ป่วยที่เกิดจากสมองเสื่อมวิธีหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่พบในการแปลผลผลของการศึกษาด้านปัจจัยเสี่ยงและการป้องกันภาวะสมองเสื่อม มีหลายประเด็น ตัวอย่างเช่น

3.1การแยกระหว่างการที่ปัจจัยและผลลัพธ์ของการศึกษาเป็นแค่ความสัมพันธ์ หรือจริงๆ แล้วเป็นสาเหตุ (association or causality) ซึ่งโดยทั่วไปต้องพิจารณาโอกาสการเป็นสาเหตุ โดยอาจพิจารณาจาก
3.1.1 ดูความสัมพันธ์ด้านเวลาในการได้รับปัจจัยเกิดก่อนการเกิดโรค (temporal relationship) แต่ปัจจัยด้านการดำรงชีพ เช่น สารอาหาร การออกกำลังกาย การเข้าร่วมกิจกรรมที่กระตุ้นการรู้คิด เป็นต้น หรือแม้แต่ปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อหลอดเลือด เช่น ความดันโลหิตสูง เป็นต้น โดยทั่วไปผู้ป่วยควรได้รับก่อนเกิดภาวะสมองเสื่อมเป็นเวลานานอย่างน้อยหลายปี ตัวอย่างเช่น การพบว่าภาวะซึมเศร้ามีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคอัลไซเมอร์นั้น อาจเกิดจากภาวะซึมเศร้าเป็นสาเหตุจริง หรือเป็นอาการในระยะเริ่มแรกของผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ก็ได้
3.1.2 ขนาดของความสัมพันธ์ (strength of association) หากปัจจัยที่สงสัยเป็นสาเหตุจริง น่าจะมีความสัมพันธ์กับผลลัพธ์คือการเกิดสมองเสื่อมหลายเท่าตัว แต่โดยส่วนใหญ่ปัจจัยด้านต่างๆ นอกจากอายุและพันธุกรรมแล้ว จะพบว่ามีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะสมองเสื่อมเพียง 2-3 เท่า 
3.1.3 การเกิดโรคเพิ่มมากขึ้นหรือลดลงตามขนาดของปัจจัยที่เปลี่ยนแปลงไป (dose-response relationship) ตัวอย่างเช่น การศึกษาโดย Morris MC และคณะพบว่าอุบัติการณ์ของโรคอัลไซเมอร์ลดลงตามการรับประทานปริมาณกรด  docosahexaenoic (DHA) ที่เพิ่มขึ้น และตามความถี่ของการรับประทานปลาที่มากขึ้น15  อย่างไรก็ตามการศึกษาส่วนใหญ่มักไม่ได้แสดงถึงความสัมพันธ์ประเภทนี้
3.1.4 ผลของการศึกษาควรเหมือนเดิมหากทำการศึกษาซ้ำ (replication of the findings) ไม่ว่าจะในประชากรกลุ่มเดิม กลุ่มย่อยของประชากรเดิม (subgroup ) หรือกลุ่มใหม่ ซึ่งสิ่งนี้เป็นข้อจำกัดหนึ่งของการความสัมพันธ์ที่พบในภาวะสมองเสื่อม เพราะมักจะมีความแตกต่างไปในผลที่ได้จากการศึกษาที่ทำซ้ำคล้ายเดิม ดังเช่น การศึกษาเรื่องบทบาทของยา statins ต่อการเกิดภาวะสมองเสื่อม พบว่าการศึกษาที่เป็นชนิด case-control studies และการศึกษาที่มีคุณภาพของการวิจัยต่ำกว่า รายงานถึงการลดลงของการเกิดภาวะสมองเสื่อมโดยรวมและชนิดอัลไซเมอร์  แต่การศึกษาระยะหลังที่ตามมาที่มีคุณภาพการศึกษาสูงกว่า ไม่พบความสัมพันธ์ดังกล่าว16
3.1.5 ผลที่ได้ ควรสอดคล้องกับองค์ความรู้ที่มีอยู่เดิม สามารถอธิบายได้ (Biological plausibility) อย่างไรก็ตาม บางครั้งเราพบความสัมพันธ์ก่อนที่จะอธิบายด้วยองค์ความรู้ที่มีได้ แต่ในอนาคตถึงจะอธิบายได้  และขณะเดียวกันสิ่งที่ควรพบตามหลักพื้นฐานที่ทราบอยู่แล้ว อาจไม่เป็นไปตามทฤษฎีเสมอไป
3.1.6 เมื่อหยุดปัจจัยที่สงสัยว่าเป็นสาเหตุ โอกาสการเกิดโรคก็ลดลงตามลงมา (cessation of exposure) ดังเช่น หากการสูบบุหรี่เป็นสาเหตุของภาวะสมองเสื่อมแล้ว เมื่อหยุดสูบ โอกาสเกิดสมองเสื่อมควรลดลง  อย่างไรก็ตามพยาธิสภาพหลายอย่างอาจเกิดความผิดปกติอย่างถาวร ถึงแม้หยุดสาเหตุ การเกิดโรคก็อาจไม่ลดลง
3.1.7 ความจำเพาะระหว่างปัจจัยเสี่ยงและโรค (Specificity of the association) เนื่องจากภาวะสมองเสื่อมเกิดจากหลายสาเหตุร่วมกัน และปัจจัยเสี่ยงของโรคนี้โดยเฉพาะปัจจัยเสี่ยงด้านหลอดเลือด และปัจจัยเสี่ยงด้านพฤติกรรมมักไม่จำเพาะทำให้เกิดแต่ภาวะสมองเสื่อมเท่านั้น ยังคงทำให้เกิดโรคอื่นได้อีก ดังนั้นจึงไม่พบความจำเพาะของความสัมพันธ์นี้ในการพิจารณาการเป็นสาเหตุของโรค
3.2 การแยกระหว่างปัจจัยบางอย่างที่ทำให้เกิดโรคอัลไซเมอร์เองโดยตรง หรือแท้จริงแล้วปัจจัยเหล่านั้นอาจมีผลต่อการหลอดเลือดและการไหลเวียนเลือดในสมองของผู้ป่วยสมองเสื่อม อาจแยกได้ยาก
3.3 ข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบันส่วนใหญ่มาจากข้อมูลการศึกษาที่ไม่ได้ถูกวางแผนมาศึกษาด้านสมองเสี่อมโดยตรง  แต่ผลลัพธ์หลักของการศึกษาเป็นภาวะอื่น เช่น โรคหัวใจและระบบไหลเวียนเลือด และโรคมะเร็งเป็นต้น  ดังนั้นจึงมีข้อจำกัดในการประเมินวัดทั้งปัจจัยเสี่ยง (exposure) และการรู้คิดบกพร่องหรือสมองเสื่อม (outcome)
 3.3.1 การประเมินวินิจฉัยภาวะสมองเสื่อมในการศึกษาในประชากรปริมาณมาก มักขาดความถูกต้องแม่นยำในด้านการวินิจฉัย เช่น ไม่มีคำนิยามที่ชัดเจนของการวินิจฉัย เกณฑ์ที่ใช้ไม่ได้รับการเทียบด้านมาตรฐาน ตลอดจนเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินแต่ละการศึกษามีความแตกต่างกัน ทำให้การเปรียบเทียบผลระหว่างการศึกษาต่างๆ ทำได้ลำบาก นอกจากนั้นบางครั้งการวินิจฉัยโดยการประเมินผู้ป่วยเพียงหนึ่งครั้งอาจทำได้ลำบาก จึงทำให้หลายๆ การศึกษาทางด้านระบาดวิทยาของภาวะนี้อาจมีการวินิจฉัยโรคที่คลาดเคลื่อนได้  และถึงแม้หลายการศึกษามีการติดตามผู้ป่วย แต่ระยะเวลาที่ติดตามส่วนใหญ่มักจะไม่นานพอในด้านการบอกการเป็นสาเหตุของการเกิดโรคได้
3.3.2การระบุปัจจัยเสี่ยงในหลายการศึกษายังขาดคุณภาพในด้านการวัดประเมินปัจจัยเสี่ยง เช่น ปัจจัยด้านอาหาร การดำรงชีพ สุขภาพ เศรษฐานะสังคม ยาที่ใช้ ตลอดจนการเข้าร่วมกิจกรรมที่กระตุ้นการรู้คิด เป็นต้น  ดังตัวอย่างเช่น การศึกษาด้านวิตะมินเสริมกับการป้องกันการลดลงของการรู้คิด พบว่าการศึกษาต่างๆ มีความแตกต่างกันทั้งในขนาดของวิตะมินที่ผู้ป่วยได้ การติดตามและประเมินการรู้คิดของผู้ป่วย การประเมินภาวะโภชนาการเดิมของผู้ป่วย ระยะเวลาการติดตาม และการศึกษาส่วนใหญ่ยังมักไม่ได้ใช้การลดลงของการรู้คิดเป็นผลลัพธ์หลักของการศึกษา
จากรายงาน National Institutes of Health State-of-the-Science Conference Statement ในปีพ.ศ. 255317 โดยเป็นการทบทวนรายงานงานวิจัยอย่างเป็นระบบ (systematic review) ถึงตุลาคม พ.ศ.2552 หรืองานวิจัยต้นฉบับตั้งแต่ปีพ.ศ. 2527 ถึงตุลาคม พ.ศ.2552 โดยสืบค้นในวารสารที่ตีพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษ และจำกัดจำนวนผู้เข้าร่วมวิจัยอย่างน้อย 50 คนถ้าเป็นการวิจัยแบบ randomized control trials และอย่างน้อย 300 คน ถ้าเป็นงานวิจัยแบบ observational studies  โดยรายงานดังกล่าวได้แสดงความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยและการเกิดโรค

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น