วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

พฤติกรรมด้านลบที่ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพ

พฤติกรรมด้านลบที่ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพ 

พฤติกรรมด้านลบที่ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพ ปัญหาสุขภาพและการเจ็บป่วยที่พบเห็บโดยทั่วไปในปัจจุบัน ส่วนใหญ่มีสาเหตุจากการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม ซึ่งเป็นพฤติกรรมด้านลบ ในที่นี้จะกล่าวถึงลักษณะพฤติกรรมทางด้านลบ ที่มีผลต่อสุขภาพที่สำคัญ ๆ ดังนี้ ได้แก่
1.พฤติกรรมทางลบที่มีผลต่อการเกิดโรคติดต่อ เช่น พฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัยก่อให้เกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
2.พฤติกรรมทางลบที่มีผลต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อ เช่น พฤติกรรมการบริโภคอาหารผิดหลักโภชนาการ และมีสารปนเปื้อน พฤติกรรมการดื่มสุราและสูบบุหรี่ พฤติกรรมการไม่ออกกำลังกาย และพฤติกรรม การขับขี่รถโดยไม่เคารพกฎจราจร เป็นต้น
3.พฤติกรรมด้านลบที่เกิดจาการเปลี่ยนแปลงสังคมและสิ่งแวดล้อม เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจสังคม และกระแสการพัฒนาทางด้านอุตสาหกรรม ทำให้ประเทศไทยมีการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ในภาคอุตสาหกรรมมากขึ้น สิ่งที่ตามมาคือ มีการทำลายสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ เกิดมลพิษ มลภาวะทั้งในดิน น้ำ และอากาศ
4.พฤติกรรมด้านลบที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงจากการทำงาน เช่น พฤติกรรมเสี่ยงจากการทำงานภาคเกษตรกรรม พฤติกรรมเสี่ยงจากการทำงานภาคอุตสาหกรรม และ พฤติกรรมเสี่ยงจากการทำงานภาคบริการ
ปัจจุบันสภาพสังคมเริ่มเปลี่ยนไปเรื่อยๆ การใช้ชีวิตก็ดูเหมือนจะเร่งรีบมากขึ้น การแข่งขันก็สูงขึ้นด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการศึกษา การทำงาน สังคมความเป็นอยู่ ล้วนแต่ทำให้ทุกคนต้องกระตือรือร้นในการใช้ชีวิต บางคนเรียนหนักมาก หรือบางคนทำงานหนัก โดยไม่ได้คำนึงถึง สุขภาพ ของตัวเอง แม้จะไม่ได้ป่วยก็ตาม แต่การที่เราไม่ได้พักผ่อนให้เพียงพอก็เป็นการทำร้ายตัวเองทางอ้อมเช่นกัน วันนี้เรามาดูกันดีกว่าว่า คุณเป็นคนที่ใช้ร่างกายหนักไปหรือเปล่า? กับ 10 พฤติกรรมทำร้าย สุขภาพ ที่คุณยังไม่เลิกทำ!
1. อดอาหารเช้า หรือกินอาหารไม่ตรงเวลา


หากไม่รับประทานมื้อเช้า จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ จึงเกิดสภาวะมีสารอาหารไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ ทำให้เกิดสมองเสื่อมได้อีกด้วย และการรับประทานอาหารไม่ตรงเวลานั้น อาจเสี่ยงโรคกระเพาะอาหารอักเสบ ภาวะกรดไหลย้อน ท้องอืดท้องเฟ้อ จุกเสียด หากยังไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร รับรองโรคเหล่านี้ได้มาเยือนคุณแน่ๆ

2. รับประทานแต่อาหารที่ไม่มีประโยชน์


เช่น อาหารจำพวกฟาสต์ฟู๊ด ถึงแม้ว่ามันจะสะดวกสบาย และใช้เวลาน้อยก็ตาม แต่ถ้าหากเรากินอาหารพวกนี้เป็นประจำ ย่อมเกิดผลเสียต่อ ร่างกาย แน่นอน นอกจากจะทำให้อ้วนแล้ว ยังเป็นตัวการก่อโรคอีกหลายชนิดด้วย เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคอ้วน และโรคตับ เพราะฉะนั้น ควรเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อ ร่างกาย ด้วย ไม่ควรรับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ติดต่อกันเป็นเวลานานๆ อาจจะทานสลับกับเมนูสุขภาพบ้าง จะได้ไม่เสี่ยงกับโรคต่างๆในอนาคต
3. ดื่มน้ำไม่เพียงพอ

เราควรจะดื่มน้ำให้ได้ 6-8 แก้วต่อวัน วิธีนี้เราคงเคยจะได้ยินกันมาตั้งแต่เด็กๆ แต่จะมีสักกี่คนที่ทำได้ น้ำเปล่าไม่ใช่แค่เอาไว้ช่วยดับกระหาย แต่การดื่มน้ำในปริมาณที่ไม่เพียงพอส่งผลเสียต่อร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น ท้องผูก ผิวแห้งกร้าน แผลร้อนในในปาก ริมฝีปากแตกแห้ง ปัสสาวะมีสีเข้ม กลิ่นฉุน และที่สำคัญ ยังทำให้เลือดข้นหนืด ส่งผลให้ไม่กระปรี้กระเปร่า มึนศีรษะ อ่อนเพลียง่าย
4. ดื่มน้ำมากเกินไป

ดื่มน้ำเยอะเป็นผลให้มีสุขภาพดีก็จริง แต่ก็ต้องอยู่ในปริมาณที่พอดี ไม่มากเกินไป โดยเฉพาะในขณะที่ร่างกายกำลังสูญเสียน้ำและเกลือ เช่น ในตอนที่วิ่งมาราธอน หรือหลังจากการออกกำลังกายอย่างหนัก และเสียเหงื่อมาก เพราะหากดื่มน้ำเข้าไปในปริมาณที่มากในช่วงนี้ อาจเกิดภาวะน้ำเกินในร่างกาย (Water intoxication) เป็นผลให้ระดับโซเดียมในเลือดต่ำ (Hyponatremia) เมื่อระดับโซเดียมในเลือดต่ำ ก็อาจเกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย บางคนรุนแรงถึงขั้นหมดสติ และเสียชีวิตได้อย่างไม่คาดคิด 
5. นอนดึก

ในสภาพสังคมปัจจุบันน้อยคนนักที่จะเข้านอนตั้งแต่หัวค่ำ บางคนกว่าจะฝ่ารถติดกลับถึงบ้านได้ก็ค่ำมืดแล้ว บางติดละคร ติดซีรี่ย์ ติดโซเชียล กว่าละครจะจบ หรือกว่าจะคุยกับเพื่อนๆในโซเชียลเสร็จก็ปาเข้าไปดึกดื่นแล้ว หรือบางคนมีการบ้าน มีงานที่ต้องทำต่อ ทำให้ไม่สามารถนอนเร็วได้ ซึ่งการนอนดึกย่อมส่งผลเสียต่อร่างกายของเรา และยิ่งบางคนนอนดึกสะสมกันเป็นเวลานานก็เหมือนกับเราทำร้ายร่างกายของเราทุกๆวัน การนอนดึกส่งผลให้เมื่อเราตื่นขึ้นมาจะมีอาการเบลอๆ มึนๆ ขี้หลงขี้ลืม การรับรู้ตอบสนองช้า เป็นเพราะสมองนั้นทำงานไม่เต็มที่ สมองสั่งการช้ากว่าปกติ ทำให้เราทำงานหรือเรียนได้ไม่เต็มที่ ไม่มีสมาธิในกิจกรรมที่เราต้องทำ หรือหากนอนดึกๆแล้วต้องมาขับรถอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้อีกด้วย นอนดึกยังทำให้เราอ้วนอีกด้วย เพราะเมื่อตื่นขึ้นมาร่างการจะหลังฮอร์โมนคอร์ติซอล ทำให้เรารู้สึกหิวมากขึ้นและรู้สึกอยากอาหารหวานๆ หรือน้ำตาลมากกว่าเดิม อีกทั้งยังทำให้ผิวพรรณดูไม่สดใส เปล่งปลั่ง หน้าแก่ก่อนไวอันควร  หน้าตาหมองคล้ำ ผิวหนังเหี่ยวย่น มีผลเสียเยอะมากๆ ลองปรับเปลี่ยนเวลาการนอน และนอนให้ได้ 7 ชั่วโมง หรืออย่างน้อยเลยคือ 5 ชั่วโมง ก็จะทำให้ร่างกายของเราสดชื่น และมีสุขภาพที่ดีได้ค่ะ
6. อยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์นานเกินไป

หลายคนต้องทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ทั้งวัน เป็นเวลาประมาณ 7-8 ชั่วโมง เมื่อถึงเวลาเลิกงานกลับบ้าน ก็ยังเปิดใช้คอมพิวเตอร์อีก ทำให้วันๆหนึ่งอยู่หน้าคอมพิวเตอร์นานถึง 10-15 ชั่วโมง ซึ่งแน่นอนว่ามีผลเสียต่อสุขภาพ นอกจากการใช้สายตาเพ่งมองหน้าจอคอมพิวเตอร์ตลอดเวลา จะทำให้เราเกิดอาการดวงตาตึงเครียด ตาล้า ตาช้ำ ตาแดง แสบตา มองภาพได้ไม่ชัดเจน และมักจะเกิดอาการปวดศีรษะตามมา อีกทั้งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้สายตาของเราสั้นลงอีกด้วย หากจำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ควรพักสายตาทุกๆ 1 ชั่วโมง โดยการมองออกไปในระยะไกลบ้างสัก 3-5 นาที ทำแบบนี้ทุกๆชั่วโมงก็จะช่วยลดอาการดังกล่าวได้ นอกจากปัญหาทางด้านสายตาแล้ว การนั่งอยู่หน้าคอมพิวเตอร์นานๆยังส่งผลเสียต่อกล้ามเนื้อและกระดูกอีกด้วย ทำให้กล้ามเนื้อหลัง ไหล่ คอตึง ทำให้มีอาการปวดหลัง ปวดคอ และปวดศีรษะด้วย ควรจะเปลี่ยนท่านั่ง และลุกออกไปเดินยืดเส้นยืดสายบ้าง ไม่ควรนั่งอยู่กับที่เป็นเวลานานๆ

8. ไม่อาบน้ำก่อนนอน

หลายคนเข้าใจผิดๆว่า การอาบน้ำก่อนนอนจะไปกระตุ้นระบบปราสาทของร่างกาย  ทำให้ร่างกาย ของเราตื่นตัวแล้วนอนไม่หลับ  แต่ในความเป็นจริงแล้ว  การอาบน้ำก่อนนอนจะช่วยทำให้เรานอนหลับสบายขึ้น  เพราะการอาบน้ำจะช่วยทำให้ร่างกายสงบ  และรู้สึกได้พักผ่อนมากยิ่งขึ้น และถ้าหากไม่อาบน้ำก่อนนอน ยังสามารถก่อให้เกิดโรคผิวหนังต่างๆได้เพราะในแต่ละวัน ร่างกายของเราเหงื่อออก และต้องออกไปเจอสิ่งแวดล้อมภายนอก ทั้งฝุ่น ควันต่างๆ ทำให้ผัวหนังของเราสกปรก หากเราไม่อาบน้ำก่อนนอน จะให้ให้เราเป็นสิว กลาก เกลื้อน ผื่นคันตามผิวหนังได้อีกด้วย เพราะฉะนั้นควรอาบน้ำก่อนนอนนะคะ
9. ไม่ออกกำลังกาย

การออกกำลังกายจะช่วยเสริมสร้างสุขภาพที่แข็งแรง ทั้งทำให้กล้ามเนื้อและกระดูกแข็งแรง ระบบหายใจที่ดี และยังช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกายอีกด้วย ทำให้เราไม่เจ็บป่วยบ่อยๆ ผิวพรรณสดใส ช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ ช่วยลดความวิตกกังวล ผ่อนคลายความเครียดได้ เนื่องจากในระหว่างการออกกำลังกาย ร่างกายจะหลั่งสารเอนดอร์ฟินส์หรือสารแห่งความสุข ทำให้รู้สึกสดชื่นขึ้น หากเราไม่ออกกำลังกาย จะทำให้ภูมิคุ้มกับร่างกายต่ำ ทำให้เป็นหวัด เจ็บป่วยได้ง่าย กล้ามเนื้ออ่อนแรง เหนื่อยง่าย ลองหันมาออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่ดีมากยิ่งขึ้นนะคะ
10.ทำงานหนักเกินไป

ใครๆก็อยากประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน จนทำให้บางคนโหมทำงานหนักจนเกินไป ทั้งทางร่างกายและจิตใจ บางคนทำงานมาทั้งวันแล้วยังไม่พอ ยังเอางานกลับมาทำที่บ้านจนดึกดื่น ร่างกายไม่ได้พักผ่อนและสมองก็ยังไม่ได้พักผ่อนอีกด้วย อาจจะทำให้เกิดภาวะเครียดได้ ภาวะที่เครียดเกิดขึ้นจะกระตุ้นระบบประสาทอัตโนมัติ ทำให้เกิดอาการหน้ามืด เป็นลม เจ็บหน้าอก ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ หลอดเลือดอุดตัน โรคอ้วน แผลในกระเพาะอาหารได้ และถ้าหากหมกมุ่นกับงานจนเกินไปอาจจะมีผลกระทบต่อความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว เพื่อน คนรักได้อีกด้วย เพราะฉะนั้นควรทำอะไรแต่พอดี และหันมาใส่ใจสุขภาพของตัวเองบ้าง
11. สูบบุหรี่

ทุกคนก็ทราบกันอยู่แล้วว่าการสูบบุหรี่ไม่มีผลดีต่อสุขภาพ แต่บางคนก็ยังหาข้ออ้างที่จะสูบมันอยู่ โดยบอกว่าการสูบบุหรี่ทำให้คลายเครียด ซึ่งจริงๆแล้วการสูบบุหรี่ไม่ได้ช่วยให้คลายเครียดได้ เพียงแต่ว่าคนที่สูบบุหรี่นั้นจะมีนิโคตินอยู่ในกระแสเลือด และถ้าหากขาดการสูบบุหรี่จะทำให้ระดับนิโคตินในกระแสเลือดลดลง ส่งผลให้รู้สึกไม่สบาย ตึงเครียด จึงต้องสูบบุหรี่เพื่อรักษาระดับนิโคตินเท่านั้น เพราะในบุหรี่นั้นไม่มีสารใดๆ ที่สามารถขจัดความเครียดได้ และการสูบบุหรี่ยังก่อให้เกิดโรคอีกมากมาย เช่น โรคมะเร็งปอด โรคถุงลมโป่งพอง โรคหัวใจและหลอดเลือด ผู้ที่ติดบุหรี่ลองหันมาลดปริมาณการสูบลงจนเลิกสูบ และหันไปทำกิจกรรมอย่างอื่นแทน เพื่อสุขภาพที่ดีเถอะค่ะ ในตอนนี้คุณอาจจะยังไม่รู้สึกถึงอันตรายของมัน แต่ถ้ามีเวลาว่างๆ ลองไปตรวจปอดของคุณดูบ้าง คุณจะได้เห็นว่ามันดำแค่ไหน!

12. ดื่มแอลกอฮอล์

การดื่มแอลกอฮอล์ ส่งผลเสียต่อร่างกาย ทั้งผลต่อตับ ทำให้เป็นโรคตับแข็ง มะเร็งตับ หรือผลต่อหัวใจ ฯลฯ แล้ว อันตรายที่หลายคนอาจจะไม่นึกถึงก็คือผลต่อโรคทางจิตประสาท ซึ่งก็ส่งผลกระทบต่อร่างกายอย่างมากมายมหาศาลได้เช่นกัน เช่น  ความบกพร่องทางสติปัญญาและการเคลื่อนไหว ความจำเสื่อม อาการผิดปกติที่สมองส่วนหน้า ทำให้เกิดความบกพร่องในด้านการคิดรวบยอด การวางแผน และการจัดระบบ การฝ่อของสมองส่วนซีรีเบลลั่ม ทำให้เดินเซ ทรงตัวได้ไม่ดี แต่การดื่มแอลกอฮอล์ก็มีผลดีอยู่บ้าง หากเราดื่มในปริมาณที่พอเหมาะ เช่น การไวน์แดงและเบียร์ดำมีสารโพลีฟีนอล ซึ่งเป็นสารแอนติออกซิแดนท์สูง ช่วยป้องกันมะเร็งได้ การดื่มแอลกอฮอล์มีทั้งข้อดีและข้อเสีย การไม่ดื่มถือว่าดีที่สุด แต่หากดื่มก็ควรจะอยู่ในปริมาณที่พอเหมาะพอควร
13. ชอบใช้ยาปฏิชีวนะ

 คนไข้หลายรายชอบร้องขอยาปฏิชีวนะ หรือยาฆ่าเชื้อจากคุณหมอ เพราะเข้าใจว่าอาการป่วยที่เป็นอยู่อาจหายเร็วขึ้น หรือจะไม่มีอาการหนักกว่าเดิม ซึ่งถือว่าเป็นความเข้าใจที่ผิดอย่างยิ่ง เนื่องจากยาปฏิชีวนะที่คุณกินเข้าไปเพื่อหวังจะให้ฆ่าเชื้อโรค อาจจะฆ่าเชื้อแบคทีเรียชนิดดีในร่างกายไปด้วย ทำให้ร่างกายอ่อนแอและป่วยได้ง่าย ทั้ง ๆ ที่จริง ๆ แล้วอาการป่วยบางอย่างก็สามารถหายไปได้เองด้วยภูมิคุ้มกันที่ร่างกายมีด้วยซ้ำ ดังนั้นเชื่อดุลยพินิจของหมอ และกินยาเท่าที่แพทย์สั่งมาน่าจะดีกว่า
14. กินดึกเกินไป

            สำหรับคนที่ชอบหิวตอนกลางคืนบ่อย ๆ ต้องห้ามใจตัวเองกันหน่อยแล้วล่ะ เพราะการที่กินอาหารดึกเกินไปนี่แหละ ที่จะส่งผลให้สุขภาพของคุณแย่ลงเรื่อย ๆ ทั้งทำให้เป็นโรคอ้วน กรดไหลย้อน และกระเพาะต้องทำงานอยู่ตลอดทั้งที่จริง ๆ ไม่ควรจะเป็นอย่างนั้น
15. ละเลยสัญญาณของโรคร้าย

คุณอาจจะคิดว่า ร่างกายทั้งฟิตและเฟิร์มขนาดนี้ ไม่มีทางจะป่วยเป็นโรคร้ายอย่าง โรคหัวใจล้มเหลว หรือโรคหลอดเลือดสมองอุดตันเด็ดขาด คุณจึงละเลยสัญญาณต่าง ๆ เช่น เจ็บหน้าอกเฉียบพลัน หรือรู้สึกอ่อนแรง เหนื่อยง่าย ซึ่งเป็นอาการเริ่มแรกของ 2 โรคร้ายที่ว่ามานี้ จนไม่ยอมไปตรวจร่างกายกับแพทย์เสียที แต่จะดีกว่าไหม ถ้าจะรีบไปพาตัวเองไปให้หมอดูอาการเสียตั้งแต่แรก ๆ จะได้มีโอกาสหาทางรักษาได้ 100% เพราะหากปล่อยไว้นานเท่าไร ก็จะยิ่งรักษาให้กลับมามีสุขภาพดีดังเดิมยากขึ้นเท่านั้น
16. กินยาอาหารเสริมหลายขนาน

 ปัจจุบันอาหารเสริมมีจำหน่ายอยู่หลายชนิด และคนรักสุขภาพบางคนก็หลงคิดไปว่า การโหมกินอาหารเสริมเป็นกำ ๆ จะช่วยให้มีสุขภาพที่ดีขึ้น ซึ่งแน่นอนว่าเป็นความเข้าใจที่ผิดอย่างมหันต์ค่ะ เพราะผลสำรวจในปี 2011 เขาพบว่า ผู้หญิงที่กินอาหารเสริม โดยเฉพาะธาตุเหล็กในระหว่างไดเอตกว่า 40,000 คน จะมีภาวะเสี่ยงเป็นโรคแทรกซ้อน จนเป็นเหตุให้เสียชีวิตสูงขึ้น ดังนั้นแพทย์จึงแนะนำว่า หากคิดจะกินอาหารเสริม ให้กินตามความจำเป็นและกินตามฉลากที่ระบุไว้อย่างเคร่งครัด
17. ออกกำลังกายอย่างหักโหม

          คุณมักจะชอบออกกำลังกายอย่างหักโหม เพียงเพื่ออยากจะให้ตัวเองมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง จนลืมไปว่า ร่างกายเองก็ต้องการการพักผ่อนเช่นกัน ดังนั้น หากรู้สึกนอนไม่ค่อยหลับ เหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า ภูมิต้านทานร่างกายลดลง หรือเกิดอาการบาดเจ็บที่กล้ามเนื้อหลังจากออกกำลังกาย ก็ให้หยุดพัก และเปลี่ยนกิจกรรมมาเป็นการทำงานบ้าน หรือจ๊อกกิ้งบ้าง เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ร่างกายบาดเจ็บโดยไม่จำเป็น
18.กินอาหารสำเร็จรูปเยอะ

         ปฏิเสธไม่ได้จริง ๆ ว่าทุกวันนี้อาหารสำเร็จรูปมีวางขายกันเพียบ เพราะชีวิตที่เร่งรีบของคนยุคนี้ จะให้เข้าครัวทำอาหารกินก็คงไม่ทันไปไหนกันพอดี ยังไงก็ต้องพึ่งอาหารแบบนี้แหละถึงจะอิ่มท้อง แต่อาหารเหล่านี้แหละที่เต็มไปด้วยโซเดียมและสารเคมีมากมาย ถ้ากินมาก ๆ แล้วสุขภาพแย่แน่นอน แล้วแบบนี้สู้ตื่นเร็วกว่าเดิมมาเตรียมทำอาหารเองดีกว่าไหมล่ะคะ
เป็นอย่างไรกันบ้างกับ 18 พฤติกรรมทำร้าย สุขภาพ ที่คุณยังไม่เลิกทำ! หลายๆคนคงรู้อยู่แล้วว่าพฤติกรรมดังที่กล่าวมาส่งผลเสียต่อสุขภาพมากแค่ไหน แต่บางอย่างก็หลีกเลี่ยงได้ยาก แต่ถ้าหากเราตั้งใจจริงแล้ว ไม่มีอะไรยากเกินไปหรอก ลองเริ่มต้นใหม่เพื่อ สุขภาพ และร่างกายที่แข็งแรง
สรุปแล้วจะเห็นว่า พฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพมีทั้งพฤติกรรมที่เกิดขึ้นก่อนและหลังการเกิดปัญหาสุขภาพ แต่พฤติกรรมที่สำคัญและจำเป็นต้องทำความเข้าใจให้มาก คือ พฤติกรรมสุขภาพที่ปฏิบัติขณะยังมีสุขภาพดี ในขณะเดียวกันพฤติกรรมเสี่ยงต่าง ๆ ที่ถือเป็นพฤติกรรมทางด้านลบที่ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพ จำเป็นต้องรีบดำเนินการปรับเปลี่ยนให้มีความเหมาะสมซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาสุขภาพที่ต้นเหตุ และเป็นการจัดการกับปัญหาสุขภาพแนวใหม่ตามแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 9

1 ความคิดเห็น: